แมงปอ

ผึ้ง

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู

...ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่เว็บบล็อก "น.ส.อรณี อยู่เย็น"ด้วยความยินดีค่ะ...


คำอธิบายรายวิชา

.....ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เช่น ไมโครซอฟท์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารข้อมูล ระบบเน็ตเวิร์ค ระบบซอฟท์แวร์ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ เครื่องมือการเข้าถึงสารสนเทศ ทักษะการเข้าถึงสารสนเทศ ฐานข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และการอ้างอิง ฝึกปฏิบัติการ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมได้



วัตถุประสงค์

.....เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบแล้วตามหลักสูตรจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมาย ความสำคัญ และองค์ประกอบของเทคโนโลยีสานสนเทศได้
2. อธิบายความสันพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศได้
3. ยกตัวย่างเทคโนโลยีสารสนเทศได้และการสื่อสารในชีวิตจริงได้
4. อธิบายความหมายและความสำคัญของวิธีระบบได้
5. อธิบายความสันพันธ์ของวิธีระบบกับเทคโนโลยีสารสนเทศได้
6. บอกความหมายและองประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้
7. อธิบายหน้าที่ขององค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
8. บอกประเภทและคุณสมบัติของซอฟท์แวร์แต่ละประเภทได้
9. บอกความหมายและความสำคัญของอินเตอร์เน็ตได้
10.บอกความสัมพันธ์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้
11. อธิบายแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
12. อธิบายวิธีประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาได้
13. ยกตัวอย่างโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้
14. สร้างสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนได้
15. นำเสนอสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งที่เป็นสื่อทั่วไปและสื่อระบบเครือข่ายได้




....ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้ให้ชัดเจน...

ข้อ 1. ศึกษาความหมาย ของคำว่า “ความซื่อสัตย์”
ตอบ ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า “ ซื่อ ” ว่าหมายถึง ตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง ส่วนคำว่า “ ซื่อตรง ” หมายถึง ความประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง และ “ ซื่อสัตย์ ” หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกหลวง หรือเราอาจจะพูดง่ายๆว่าคนที่ซื่อสัตย์ ก็คือ คนที่เป็นคนตรง ประพฤติสิ่งใดก็ด้วยน้ำใสใจจริง ความซื่อสัตย์นั้นมีหลายอย่าง เช่น ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ความซื่อสัตย์ต่อครอบครัว ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความซื่อสัตย์ต่อมิตร และความซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นต้น
“ ความซื่อสัตย์ ” เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมาย
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรม ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช่เล่ห์กลทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติอย่างเต็มที่และถูกต้อง
ที่มา http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1644


ข้อ 2. วิเคราะห์”เปรียบเทียบ”ความหมายกับคำอื่นๆที่มีความหมายใกล้เคียง
ตอบ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “ความซื่อสัตย์”
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายหรือนิยามไว้ว่า
“ คุณ ” หมายความว่า ความดีที่มีประจำอยู่
“ ธรรม ” หมายความว่า คุณความดี ความถูกต้อง
“ คุณธรรม ” หมายความว่า สภาพคุณงามความดี
“ จริยะ ” หมายความว่า ความประพฤติ กริยาที่ควรประพฤติ
“ ธรรมจริยา ” หมายความว่า การประพฤติเป็นธรรม การประพฤติถูกธรรม
“ จริยธรรมา ” หมายความว่า ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
“ จริยธรรมในวิชาชีพกฎหมาย ” หมายความว่า ข้อที่ผู้ประกอบอาชีพในทางกฎหมายความประพฤติและปฏิบัติ
ไม่ว่าจะเป็นจริยธรรมในวิชาชีพกฎหมายวิชาชีพใดก็ตาม ย่อมจะหลีกเลี่ยงหรือไม่กล่าวถึงความยุติธรรมไม่ได้ กล่าวคือ จริยธรรมของวิชาชีพกฎหมาย ทุกวิชาชีพจะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม จึงมีปัญหาที่ตามมาว่า “ ความยุติธรรม ” มีความหมายว่าอย่างไร “ ความยุติธรรม ” เป็นคำที่ให้คำนิยามได้ยากที่สุดคำหนึ่งในทุก ๆ ภาษา
ตามพจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถานให้คำนิยามคำว่า “ ยุติธรรม ” ว่าคือ ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล และ คำว่า “ เที่ยงธรรม ” มีความหมายว่า “ ตั้งตรงด้วยความเป็นธรรม ”


ข้อ 3. วิเคราะห์ “ประโยชน์และคุณค่า”ของความซื่อสัตย์
ตอบ ประโยชน์ของการซื่อสัตย์
การพูดจริงทำจริงก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมโดยรวมอย่างมากมายกล่าวคือ
1. ทำให้เกิดความไว้วางใจระหว่างกัน
2. การพูดจริงทำจริง จะทำให้การทำงานความเจริญก้าวหน้า
3. จะทำให้ได้รับเกรียติ ตายในสงครามศาสนา
4. จะเป็นที่รักใคร่ในหมู่เพื่อนฝูงและสังคมโดยทั่วไป
5. จะไม่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนกลับกลอก
ที่มา http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=26&id=520


ข้อ 4. ศึกษาค้นคว้า “พฤติกรรม” ความซื่อสัตย์จากสื่อ ICT โดยวิเคราะห์ให้ตรงกับความหมาย
ตอบ 1. ICTเป็นสื่อกลางการเรียนรู้อีกทางหนึ่งเพราะฉะนั้นการใช้ถ้อยคำที่สุภาพหลีเลี่ยง การใช้ภาษาที่ ลามก หยาบคาย จึงเป็นสิ่งที่ผู้ใช้สื่อทุกคนควรมีอย่างยิ่ง
2. ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เคารพสิทธิ์ผู้อื่นและไม่ละเมิดกฎหมายด้าน ICT
3. ควรใช้สื่อ ICT ในทางที่ถูก ที่ควร
4. ไม่ใช้สื่อ ICT ในการขโมยข้อมูลหรือเข้าถึงข้อมูลผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต
โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็นที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPA ประกอบด้วย
1. ความเป็นส่วนตัว
2. ความถูกต้อง
3. ความเป็นเจ้าของ
4. การเข้าถึงข้อมูล
ที่มา http://thongin-srru.blogspot.com/2011/06/ict.html


ข้อ 5. ศึกษา “เนื้อหาสาระ” เกี่ยวกับความซื่อสัตย์จากวรรณกรรม/สุภาษิต/คำพังเพย
ตอบ - มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก = พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลง ไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน.(คนกลับกลอก)
- มือถือสาก ปากถือศีล = มักแสดงตัวว่าเป็นคนมีศีลมีธรรม แต่กลับประพฤติชั่ว.
- มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ = มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ ไม่ช่วยทํา แล้วยังขัดขวางการทํางานของผู้อื่น.
- มือสะอาด = มีความประพฤติดี, มีความซื่อสัตย์สุจริตไม่คดโกงหรือฉ้อราษฎร์บังหลวง.
- แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก = หญิงที่ไปติดต่อระหว่างชายหญิง แต่ไม่สำเร็จในที่สุดก็ตกเป็นภรรยาของชายนั้นแทน.
- ยกตัวขึ้นเหนือลม ปัดความผิดให้พ้นตัว = ยกตัวเองให้พ้นผิด ยกตนเหนือคนอื่น.

ที่มา http://gotoknow.org/blogs/posts/435939